Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • สหรัฐฯ ยืนยัน ส่ง “คลัสเตอร์บอมบ์” ให้ยูเครน แม้หลายฝ่ายคัดค้าน

สหรัฐฯ ยืนยัน ส่ง “คลัสเตอร์บอมบ์” ให้ยูเครน แม้หลายฝ่ายคัดค้าน

หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า สหรัฐฯ จะส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ไปยังยูเครนเพิ่มเติม โดยหนึ่งในนั้นเป็นอาวุธต้องห้ามอย่าง “คลัสเตอร์บอมบ์” (Cluster Bomb) หรือ “ระเบิดลูกปราย” ที่อาจช่วยพลิกสถานการณ์สนามรบได้

ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯ ออกมาประกาศยืนยันแล้วว่า จะส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ดังกล่าวไปให้ยูเครนตามคำร้องขอจริง หลังจากเลื่อนการตัดสินใจมานาน

สหรัฐจ่อส่งอาวุธต้องห้าม “คลัสเตอร์บอมบ์” ให้ยูเครน

ต้องการอาวุธต้องห้าม! ยูเครนร้องขอ “คลัสเตอร์บอมบ์” จากสหรัฐ

เมื่อวานนี้ (7 ก.ค.) เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯประกาศว่าจะสหรัฐฯ จะส่งคลัสเตอร์บอมบ์ซึ่งเป็นอาวุธต้องห้ามในหลายประเทศ ให้กับยูเครน

โดยความเคลื่อนไหวในการจัดหาอาวุธยุธโธปรณ์ประเภทดังกล่าวของสหรัฐฯให้กับยูเครน ในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดส่งชุดความช่วยเหลือด้านความมั่นคง ที่ยูเครนระบุว่าจะมี ผลกระทบทางจิตวิทยาต่อกองกำลังทหารของรัสเซีย

อย่างไรก็ตาม ซัลลิแวน ยืนยันว่า ยูเครนได้ให้การรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วว่าจะใช้อาวุธเหล่านี้อย่างระมัดระวังเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อพลเมืองของตนเอง พร้อมยืนยันแล้วว่า จะไม่ใช้อาวุธเหล่านี้ในต่างประเทศ

ส่วนความเคลื่อนไหวของประธานาธิบดีไบเดน เมื่อวานนี้ระหว่างที่กำลังเดินออกจากทำเนียบขาว ผู้สื่อข่าวได้สอบถามว่า ทำไมเขาถึงจัดหาคลัสเตอร์บอมบ์ให้กับยูเครนในเวลานี้

โดยประธานาธิบดีไบเดน ตอบผู้สื่อข่าวสั้น ๆ ว่า กระสุนที่ยูเครนใช้ในการทำสงครามกับรัสเซียหมดแล้ว

การที่สหรัฐฯ ตัดสินใจส่งคลัสเตอร์บอมบ์ให้ยูเครนได้เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากบรรดาชาติพันธมิตร และองค์กรระหว่างประเทศ เพราะหลายฝ่ายมีความกังวลถึงความอันตรายจากอาวุธประเภทดังกล่าวที่อาจส่งผลกระทบต่อพลเรือน

“คลัสเตอร์บอมบ์” หรือระเบิดลูกปราย เป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่เมื่อยิงออกไปแล้ว มันจะปล่อยระเบิดขนาดเล็กออกมากลางอากาศ ระเบิดจะกระจายเป็นวงกว้าง ตกลงมาทำลายทั้งรถถังและกำลังพลของศัตรู และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อพลเรือนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงด้วย เนื่องจากการตกของระเบิดมีอัตราความคลาดเคลื่อนสูง

นอกจากนี้ ระเบิดขนาดเล็กที่ปล่อยออกมายังมีอัตราการไม่ระเบิดสูง เช่น เมื่อตกลงในพื้นดินโคลนที่มีน้ำขังหรือพื้นทราย หากระเบิดไม่ทำงาน และมีประชาชนมาสัมผัสอาจเกิดระเบิดขึ้นจนทำให้เสียชีวิตได้

ระเบิดจากคลัสเตอร์บอมบ์แม้ผ่านไปหลายสิบปีก็ยังสร้างความเสียหายได้ ด้วยเหตุนี้ อาวุธดังกล่าวจึงมีสถานะเป็นอาวุธต้องห้ามภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปราย หรือ Convention on Cluster Munitions หรือ CCM ที่ถูกตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2008 แต่มีผลบังคับใช้ในปี 2010 ภายใต้อนุสัญญาฉบับนี้ ห้ามใช้ ห้ามสะสม ห้ามผลิต และห้ามโอน รวมทั้งต้องทำลายคลัสเตอร์บอมบ์ที่มีในคลังทิ้งทั้งหมด

ปัจจุบันมีประเทศกว่า 123 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญานี้ ยกเว้น ยูเครน รัสเซีย และสหรัฐฯ ที่ยังไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว ดังนั้นหากพิจารณาตามหลักทางกฎหมายแล้ว ประเทศเหล่านี้สามารถใช้คลัสเตอร์บอมบ์ได้กับเป้าหมายทางการทหาร

แม้นานาชาติออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับสหรัฐฯ ในการตัดสินใจส่งอาวุธประเภทดังกล่าวให้กับยูเครน แต่เพนตากอน หรือกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ได้ออกมาปกป้องการตัดสินใจของรัฐบาลสหรัฐฯ

ปลัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ระบุว่า นับตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครนเริ่มต้นขึ้น รัสเซียได้ใช้คลัสเตอร์บอมบ์ โจมตียูเครนอย่างไม่เลือกเป้าหมาย ขณะที่ยูเครนเองก็กำลังแสวงหาการใช้อาวุธประเภทดังกล่าวเพิ่มเติม เพื่อป้องกันดินแดนอธิปไตยของตนเอง

ทั้งนี้สหรัฐฯ ยอมรับถึงความกังวลสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมที่เกิดจากการใช้อาวุธประเภทดังกล่าว แต่ยืนยันว่า สิ่งที่แย่ที่สุดสำหรับพลเรือนในยูเครนคือ การที่รัสเซียชนะสงครามในครั้งนี้

 สหรัฐฯ ยืนยัน ส่ง “คลัสเตอร์บอมบ์” ให้ยูเครน แม้หลายฝ่ายคัดค้าน

อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯได้ยืนกรานว่า เพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจให้อาวุธประเภทดังกล่าวของยูเครน สหรัฐฯจะทำงานร่วมกับยูเครนเพื่อป้องกันความเสี่ยงนั้น และจะไม่มีการใช้อาวุธนี้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่ เพื่อง่ายต่อการเก็บกู้คำพูดจาก สล็อต777

นอกจากนี้ปลัดกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยืนยันว่า คลัสเตอร์บอมบ์ที่สหรัฐฯจะส่งให้กับยูเครนมีอัตราการเกิดความผิดพลาดอยู่ที่ 2.35% ซึ่งน้อยกว่าคลัสเตอร์บอมบ์ของรัสเซีย ที่มีอัตราความผิดพลาดอยู่ที่ระหว่าง 30-40 %

ภาพจาก AFP